การใช้คำเชื่อมประเภทคู่ (Correlative conjunction)

คำเชื่อมประเภทคู่มีอยู่ทั้งหมดสี่คู่และสามารถใช้เชื่อมประโยคความเดี่ยวสองประโยคให้เป็นประโยคความรวมได้ คำเชื่อมประเภทคู่นี้มีความหมายและวิธีใช้คล้ายกับคำเชื่อประเภทคำเดี่ยวหรือ Coordinate conjunction แต่ต่างกันที่คำเชื่อมประเภทคู่ หรือ Correlative conjunction นี้มีลักษณะเป็นคู่และต้องใช้เป็นคู่ไม่ใช่เป็นคำศัพท์เพียงคำเดียวอย่าง Coordinate conjunction ดูตัวอย่างคำเชื่อมประเภทคู่และวิธีการใช้ได้ด้านล่างครับ

คำเชื่อมประเภทคู่ (Correlative conjunction)
1 Both….and=โบดฬฺ...แอนดฺ (ทั้งและ)
2 either….or=อีเธอรฺ...ออรฺ (ถ้าไม่...มิฉะนั้น)
3 neither….nor=นีเธอรฺ...นอรฺ (ไม่ใช่ทั้งสอง)
4 not only….but (also)=น็อท โอนลิ...บัท (ออลโซ) (ไม่เพียง...เท่านั้น ...แต่)

การใช้คำเชื่อมประเภทคู่ (Correlative conjunction)
1 Both my girlfriend and I will surely be at your birthday party tomorrow.
โบดฬฺ ไม เกิรฺลเฟรนดฺ แอนดฺ ไอ วิลวฺ ชัวรฺลิ บี แอ็ท ยัวรฺ เบิรฺธเดยฺ ปารฺทิ ทูมอโรวฺ
(พรุ่งนี้ ผมกับแฟนจะไปงานวันเกิดของคุณแน่นอนครับ)

2 We are talking about both when the party should be held and where it should take place.
วี อารฺ ทอลฺคกิง อะเบาทฺ โบดฬฺ เว็น เดอะ ปารฺทิ ชุด บี เฮลดฺ แอนดฺ แวรฺ อิท ชุด เทค เพลส
(เรากำลังคุยกันว่าจะจัดงานเลี้ยงเมื่อไหร่และที่ไหนดี)

3 Either you go away, or I will call a police.
อีเธอรฺ ยู โก อะเวยฺ ออรฺ ไอ วิลวฺ คอล อะ โปลิส
(คุณจะถอยไปห่างๆจากฉัน หรือจะให้ฉันโทรเรียกตำรวจ)

4 Neither has he visited his parents, nor has he called them at all.
นีเธอะรฺ แฮซ ฮี วิซิททิด ฮิซ แพรึนทฺส นอรฺ แฮซ ฮี คอลดฺ เด็ม แอ็ท ออล
(เขาไม่เคยมาเยี่ยมพ่อแม่และไม่เคยโทรหาเลย)

5 Not only does John love Sara, but he also gives her everything.
น็อท โอนลิ ดัดซฺ จอห์น เลิฟ ซารา บัท ฮี ออลโซ กิฟวฺส เฮอรฺ เอ็ฟวฺริธิง
(จอห์นไม่เพียงแต่รักซาราแต่เขายังให้ทุกสิ่งทุกอย่างกับเธอด้วย)

ข้อควรจำสำหรับการใช้คำเชื่อมประเภทคู่
1 Both….and ใช้เชื่อมข้อความที่คล้อยตามกันหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันคล้ายกับ and แต่เชื่อมได้เฉพาะคำกับคำและวลีกับวลีโดยไม่สามารถใช่เชื่อมระหว่าง Independent clause ได้ดังตัวอย่างประโยคที่ 1, 2

2 either….or ใช้ในความหมายว่าให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนกับ or ดังตัวอย่างประโยคที่ 3

3 neither….nor ใช้เชื่อมข้อความคล้อยตามกันเหมือนกับ nor แต่ต่างกันที่ใช้เป็นคำเชื่อมระหว่างประโยคปฏิเสธหรือ negative-clause เท่านั้นและต้องเปลี่ยนโครงสร้างประโยคให้เป็นแบบ yes/no question ทั้งสองประโยค เมื่อใช้ เชื่อมในประโยคจะมีความหมายเป็นปฏิเสธแต่ไม่มีคำปฏิเสธ not อยู่ในประโยคเพราะ neither….nor มีความหมายเป็นปฏิเสธหรือมีความหมายว่าไม่อยู่ในตัวแล้ว ดังตัวอย่างประโยคที่ 4


4 not only….but (also)ใช้เชื่อมข้อความที่คล้อยตามกันเหมือนกับ and แต่จะมีลักษณะเป็นทางการกว่า และมักใช้เมื่อต้องการย้ำความสำคัญของ ประโยคที่ 2 และต้องเปลี่ยนโครงสร้างในประโยคแรกเป็นรูป yes/no question ด้วย ดังตัวอย่างประโยคที่ 5

การใช้คำเชื่อมประเภทคู่ในภาษาอังกฤษจะต้องมีเครื่องหมายคอมมาคั่นระหว่างประโยคแรกกับประโยคหลังเสมอโดยเครื่องหมายคอมมาจะอยู่หน้าคำเชื่อมคำหลังที่ขึ้นต้นประโยคหลังดังตัวอย่างประโยคที่ 3-5 ยกเว้นคำเชื่อมประเภทคู่ Both….and ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมายคอมมาคั่นเพราะคำเชื่อมคู่นี้ใช้เชื่อมคำกับคำและวลีกับวลีเท่านั้นไม่สามารถใช้เชื่อมประโยคกับประโยคได้ดังได้กล่าวมาแล้วตอนต้น
บทความถัดไป

บทความก่อนหน้า

ความคิดเห็น