การใช้คำเชื่อมประเภทกริยาวิเศษณ์ (Conjunctive Adverb)

คำเชื่อมประเภทกริยาวิเศษณ์หรือ Conjunctive Adverb คือกลุ่มคำกริยาวิเศษณ์จำนวนหนึ่งที่นอกจากทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ได้แล้วยังสามารถนำมาใช้เชื่อมระหว่างประโยคความเดียวสองประโยคให้เป็นประโยคความรวมได้ แท้ที่จริงแล้วคำเชื่อมประเภทนี้จะมีความคล้ายคลึงกับคำเชื่อมประเภทคำเดี่ยวหรือ Coordinate conjunction ที่ผู้เขียนเคยนำเสนอไว้แล้วในบทความครั้งก่อนๆแต่ต่างกันที่คำเชื่อมประเภทกริยาวิเศษณ์นี้จะใช้ในภาษาเขียนที่มีลักษณะเป็นทางการมากกว่าดูคำเชื่อมและการใช้คำเชื่อมดังกล่าวได้ต่อไปนี้ครับ

การใช้คำเชื่อมประเภทกริยาวิเศษณ์ (Conjunctive Adverb)
1 Besides=บีไซดสฺ, furthermore=เฟอรฺเธอมอรฺ, moreover=มอรฺโอเวอะ, in addition=อิน แอ็ดดิชึน (ทั้งหมดนี้มีความหมายคล้ายกับ and คือให้ข้อมูลเพิ่มเติม) ตัวอย่างเช่น

I can’t really go out with you; besides, I have to get up early.
ไอ คานทฺ เรียลลิ โก เอาทฺ วิดฬฺ ยู บิไซดสฺ ไอ แฮฟวฺ ทู เก็ท อัพ เออรฺลิ
(ฉันไม่อาจออกไปกับคุณได้จริงๆนอกจากนี้ฉันต้องตื่นเช้าเสียด้วยซี)

2 Otherwise=อัทเธอรฺไวสฺ, instead=อินสเต็ด (มีความหมายคล้ายกับ or คือให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) ตัวอย่างเช่น

Shut the window; otherwise, we will get too cold to study in the class.
ชัท เดอะ วินโดวฺ อัทเธอรฺไวสฺ วี วิลวฺ เก็ท ทู โคลดฺ ทู สตัดดี อิน เดอะ คลาส
(ปิดหน้าต่างเสียเถอะมิฉะนั้นจะหนาวเกินไปจนเรียนกันไม่ได้)

3 However=ฮาวเอฟเวอรฺ, nevertheless=เนฟเวอรฺเธอเล็ส, nonetheless=นันเธอะเล็ส, still=สติล, on the contrary=ออน เดอะ เคินทะรี, on the other hand=ออน ดิ อัทเธอรฺ แฮนดฺ (มีความหมายขัดแย้งกับประโยคก่อนหน้าหรือมีความหมายตรงกันข้ามกันคล้ายกับ but, yet) ตัวอย่างเช่น

It rains heavily; however, he insists to go out to see her.
อิท เรนสฺ เฮฟวิลิ ฮาวเอ็ฟเวอรฺ ฮี อินซิสทฺส ทู โก เอาทฺ ทู ซี เฮอรฺ
(ฝนตกหนักมากอย่างไรก็ตามเขายืนกรานที่จะออกไปพบเธอให้ได้)

4 Likewise=ไลคฺไวสฺ, similarly=ซิมเม็อลาลี, in the same way=อิน เดอะ เซม เวยฺ (ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกันกับประโยคก่อนหน้า) ตัวอย่างเช่น

She gets up early every morning; likewise, her brother must do.
ชี เก็ทสฺ อัพ เออรฺลิ เอฟวฺริ มอรฺนิง ไลคฺไวสฺ เฮอรฺ บราเธอรฺ มัสทฺ ดู
(เธอตื่นเช้าทุกวันน้องชายของเธอก็เช่นกัน)

5 In fact=อิน แฟคทฺ, as a matter of fact=แอ็ส อะ แม็ทเธอะรฺ อ็อฟ แฟ็คทฺ (ใช้เมื่อต้องการเน้นย้ำถึงสิ่งที่กล่าวไปแล้วในประโยคก่อนหน้า) ตัวอย่างเช่น

The movie was very exciting; in fact, it was the funnest one I have ever seen.
เดอะ มูฟฺวี ว็อซ เวริ เอ็กซฺไซติง อิน แฟคทฺ อิท ว็อซ เดอะ ฟันเน็สทฺ วัน ไอ แฮฟวฺ เอ็ฟเวอรฺ ซีน
(หนังเรื่องนั้นชวนตื่นเต้นมากอันที่จริงเป็นหนังที่สนุกที่สุดเท่าที่ฉันเคยดูมา)

6 For example=ฟอรฺ เอ็กซฺแซมเปิลวฺ, for instance=ฟอรฺ อินสแตนดฺ (ใช้เมื่อต้องการยกตัวอย่างอธิบายถึงประโยคที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้า) ตัวอย่างเช่น

He is a good son; for example, he always helps his parents.
ฮี อิซ อะ กุด ซัน ฟอรฺ เอ็กซฺแซมเปิลวฺ ฮี ออลเวยฺส เฮลพฺส ฮิซ แพรึนทฺส
(เขาเป็นลูกชายที่ดี ตัวอย่างเช่นเขาช่วยพ่อแม่เสมอ)

7 Accordingly=อะคอรฺดดิงลิ, consequently=เคินซิเคว็นทฺลิ, hence=เฮ็นซฺ, therefore=แดรฺฟอรฺ, thus=ธัส, as a result=แอ็ส อะ รีซัล (ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากประโยคก่อนหน้าคล้ายกับ so) ตัวอย่างเช่น

She worked very hard; as a result, she got 8 A’s last semester.
ชี เวิรฺคทฺ เวรี ฮารฺด แอ็ส อะ รีซัลทฺ ชี ก็อท เอ็ท เอสฺ ลาสทฺ ซีเมสเธอรฺ
(เทอมที่แล้วเธอขยันเรียนมากผลก็คือเธอได้ A ห้าวิชา)

ข้อควรจำสำหรับการใช้คำเชื่อมประเภทกริยาวิเศษณ์
1 คำเชื่อมประเภทกริยาวิเศษนอกใช้เชื่อมประโยคความเดียวสองประโยคเข้าด้วยกันให้เป็นประโยคความรวมแล้วยังสามารถใช้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ที่ขยายกริยาหรือขยายประโยคได้อีกด้วย

2 เมื่อใช้คำเชื่อมประเภทกริยาวิเศษณ์เชื่อมระหว่างประโยคความเดียวสองประโยคให้เป็นประโยความรวมต้องใส่เครื่องหมายดังในประโยคตัวอย่างข้างบนเสมอ
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า

ความคิดเห็น