เทคนิคการทำข้อสอบโทเฟิลการอ่านให้ได้คะแนนเยอะๆ

เทคนิคการเดา คาดคะเน และทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์ในการสอบโทเฟิล สำหรับการสอบโทเฟิลแม้ท่านจะเตรียมตัวมาอย่างดีแล้วก็ตามแต่หากรู้วิธีการและเทคนิคในการทำข้อสอบด้วยก็จะทำให้ท่านทำข้อสอบได้ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วยิ่งขึ้น ท่านสามารถใช้วิธีการสังเกต คาดคะเน ดูบริบทแวดล้อมพร้อมตัวช่วยชี้แนะต่างๆที่อยู่ในเนื้อหาข้อสอบสำหรับส่วนของการอ่านเพื่อจะได้เข้าใจความหมายของศัพท์และตอบคำถามได้ถูกต้องมากขึ้นหรือทำคะแนนได้มากขึ้น ดูรายละเอียดเทคนิคต่างๆดังกล่าวได้ต่อไปนี้ครับ

ให้สังเกตบริบทและคำนำทางเหล่านี้ครับ

1 ในเรื่องที่ให้อ่าน ศัพท์คำเดียวอาจมีหลายความหมาย 
ให้ท่านดูบริบทประกอบว่าในประโยคที่ศัพท์ปริศนาปรากฏอยู่พูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร แล้วไล่ไปจนถึงระดับพารากราฟที่มีประโยคนั้นปรากฎอยู่ว่ากล่าวถึงเรื่องอะไรก็พอจะเดาความหมายของศัพท์ได้ครับ

2 คำถามเกี่ยวกับคำศัพท์มักจะเป็นคำถามแบบนี้ครับ
2.1 The word/phrase……….in the passage is closest in meaning to…..
เดอะ เวิร์ด/เฟรส…. อิน เดอะ พาสเส็จ อิส โคลสเส็ท อิน มีนนิง ทู….
คำ/วลีในพาสเส็จมีความหมายใกล้เคียงกับคำ…..มากที่สุด

2.2 The word/phrase……….in the passage means…..
เดอะ เวิรฺด/เฟรส ……อิน เดอะ พาสเส็จ มีนสฺ….
คำหรือวลี….. ในเนื้อหามีความหมายว่า/หมายถึง….
      
2.3 The word/phrase……….in paragraph…..refers to a type of….
เดอะ เวิรฺด /เฟรส….. อิน พารากราฟ …..รีเฟอรฺส ทู อะ ไทพฺ อ็อฟ…..
คำหรือวลี….ในพารากราฟ….กล่าวถึง….

2.4 What is…..?
ว็อท อิซ…. ?
….คืออะไร?

3 พยายามใช้บริบทต่างๆเข้าช่วยในการทำความเข้าใจความหมายคำศัพท์ในเนื้อหา เช่นความรู้ความเข้าใจด้านโครงสร้าง เครื่องหมายวรรคตอน และความหมายคำใกล้เคียงที่อยู่ในประโยคหรือพารากราฟเดียวกัน

4 ใช้คำนำทางหรือคำบ่งชี้ความหมายต่อไปนี้เพื่อหาความหมายของศัพท์ เช่น
4.1 v. to be ท่านสามารถใช้ v. to be ซึ่งได้แก่ is, am, are, was, were, been เดาความหมายของศัพท์ได้เพราะคำนามที่อยู่ข้างหน้าและข้างหลัง v. To be นั้นคือสิ่งเดียวกัน ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น
James is a doctor.
เจมสฺ อิซ อะ ด็อกเตอรฺ
(เจมส์เป็นหมอ)
ในประโยคง่ายๆด้านบนบอกให้รู้ว่า  James  กับ doctor นั้นคือคนๆเดียวกัน พูดง่ายๆก็คือ James ในที่นี้ก็คือ doctor และ doctor ในที่นี้ก็คือ James นั่นเองครับ แม้ท่านจะเจอคำศัพท์ที่ยากกว่านี้ในการทำข้อสอบจริงก็ให้นึกไว้เสมอว่าคำนามที่อยู่หน้ากับคำนามที่อยู่หลัง v. To be นั้นคืออย่างเดียวกัน

4.2 Or คำเชื่อม or บอกให้ท่านรู้ว่าคำที่อยู่หน้า or กับคำที่อยู่หลัง or คือสิ่งเดียวกันความหมายก็ต้องเหมือนกัน (ยกเว้นในกรณีที่ or เชื่อมระหว่างสองประโยค และคำนามกับคำนามที่ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งคำนามทั้งสองและประโยคทั้งสองนั้นมีความหมายต่างกัน กล่าวคือท่านต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีที่ให้เลือกระหว่างคำนามสองคำ or มักอยู่ต้นประโยค) ตัวอย่างง่ายๆเช่น
These mangoes weigh a kilo or just over tow pounds.
ดีซ แมง โกซฺ  เว อะ กิโล ออรฺ โอเวอะรฺ ทู ปาวนดฺส
(มะม่วงเหล่านี้หนักหนึ่งกิโลหรือสองปอนด์กว่า)
ประโยคข้างบนทำให้เรารู้ได้ว่า หนึ่งกิโลก็คือสองปอนดฺกว่า เพราะ or ชี้แนะ

4.3 appositive คือนามวลีที่ตามหลังคอมมาซึ่งบอกหรืออธิบายคำนามที่อยู่หน้าเครื่องหมายคอมมาว่าคำนั้นคืออะไรมีลักษณะอย่างไรและทำหน้าที่อย่างไร หากเป็นสถานที่ก็จะบอกให้รู้ว่าเป็นสถานที่อะไรตั้งอยู่ที่ไหน ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ครับ
He lives in Phuket, the province located in south of Thailand.
ฮี ลิฟวฺส อิน ภูเก็ต เดอะ พร็อบวินสฺ โลเคททิด อิน เซาทฺ อ็อฟ ไทแลนดฺ
(เขาอาศัยอยู่ภูเก็ตซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ทางใต้ของประเทศไทย)
เราทราบได้ว่าภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยเพราะคำหรือวลีที่ตามหลังคอมมาบอก

4.4 Adjective clause or Phrase ประพันธสรรพนามและวลี ก็สามารถเป็นตัวชี้แนะอีกอันหนึ่งที่บอกความหมายศัพท์ได้เพราะทำหน้าที่ขยายคำนามโดยอยู่หลังคำนามที่ขยายบอกให้รู้ว่านามนั้นคืออะไร ประพันธสรรพนามจะขึ้นต้นด้วยคำ 7 คำได้แก่ who, whom, whose, which, that, where, when, และวางอยู่หลังคำนามที่ขยายเสมอ ตัวอย่างเช่น

The last time I went to Thailand was in December when the weather is very nice.
เดอะ ลาสทฺ ไทมฺ ไอ เว็นทฺ ทู ไทแลนดฺ ว็อซ อิน ดีเซมเบอรฺ เว็น เดอะ เวทเธอะ อิซ เวริ ไนสฺ
(ครั้งสุดท้ายที่ผมไปเมืองไทยคือเดือนธันวาคมช่วงนั้นอากาศดีมาก)
ในประโยคนี้บอกให้รู้ว่า December ก็คือ when the weather is very nice ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งในเมืองไทยที่อากาศดีมากนั่นเอง

4.5 list or series คือการเขียนแจกแจงคำประเภทเดียวกันหรือจำพวกเดียวกันไว้ในประโยคเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายคอมมาคั่นแต่ละคำไว้ ทำให้ทราบได้ว่าคำต่างๆเหล่านั้นเป็นจำพวกเดียวกัน กล่าวคือ หากเป็นสัตว์ก็เป็นสัตว์ชนิดเดียวกันสายพันธ์เดียวกันหรือคล้ายกัน ถ้าเป็นสิ่งของก็จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ถ้าเป็นอารมณ์ความรู้สึกหรือลักษณะของคนก็มีความหมายคล้ายกัน ดูตัวอย่างได้ต่อไปนี้ครับ
If you are said to have “a chip on your shoulder”, you are angry, pugnacious, sullen, and looking for trouble.
อิฟ ยู อารฺ เซด ทู แฮฟวฺ อะ ชิพ ออน ยัวรฺ โชลเดอรฺยู อารฺ แองกริ แพ็กเนเชิส  ซัลเลิน แอนดฺ ลุคกิง ฟอรฺ ทรับเบิล
(ถ้ามีคนพูดว่าคุณ แฮฟวฺ อะ ชิพ ออน ยัวรฺ โชลเดอร์ แสดงว่าคุณโกรธอยากโต้เถียงชกต่อยและพร้อมจะมีเรื่อง)
ข้อความที่แจกแจงไว้ด้วยเครื่องหมายคอมมาคือความหมายของสำนวนที่ว่า  “a chip on your shoulder”

4.6 Example คือคำชี้แนะที่ยกตัวอย่างให้เห็นถึงสิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้า คำชี้แนะประเภทนี้ได้แก่คำว่า for example, for instance, like, such as   ดูตัวอย่างประโยคเกี่ยวกับชี้แนะคำเหล่านี้ได้ต่อไปนี้ครับ

He is a good son; for example, he always helps his father.
ฮี อิซ อะ กุด ซัน ฟอรฺ เอ็กซแซมเพิล ฮี ออลเวยฺส เฮลพฺส ฮิซ ฟาเธอะ
(เขาเป็นลูกชายที่ดี อย่างเช่น เขาจะช่วยงานพ่อเสมอ)
ประโยคหลัง for example บอกให้รู้ลักษณะของ a good son) เป็นต้น

4.7 Contrast คือตัวชี้แนะที่เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้ากับสิ่งที่กล่าวตามหลัง Contrast กล่าวคือเราสามารถเดาความหมายได้ว่าคำศัพท์ที่อยู่หน้า Contrast กับคำที่อยู่หลังนั้นเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกันหรือมีความหมายตรงกันข้ามกันเสมอ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าคำที่อยู่หน้า contrast มีความหมายว่าดี คำที่อยู่ข้างหลังต้องไม่ดีแน่นอน เป็นต้น กลุ่มคำที่เป็น contrast ได้แก่คำต่อไปนี้ alternatively, but, conversely, despite, different, however, in contrast, in spite of, instead, nevertheless, on the contrary, on the other hand, rather, unlike, whereas, while เช่น

Many birds are active at day, but some are primarily nocturnal.
แมนนี เบิรฺดส อารฺ แอ็คทิฟวฺ แอ็ท เดยฺ บัท ซัม อารฺ ไพรเมอเรอลิ น็อคเชอนัล
(นกจำนวนมากหากินกลางวันแต่ก็มีนกบางชนิดที่หากินกลางคืน)
คำว่า but ในประโยคนี้บอกให้รู้ว่า  nocturnal นั้นมีความหมายตรงข้ามกับวลี active at day กล่าวคือ คำแรกจะหมายถึงการกระทำที่เกิดขึ้นกลางวันส่วนคำหลังจะหมายถึงการกระทำที่เกิดขึ้นกลางคืน เป็นต้น

4.8 Punctuation ตัวชี้แนะประเภทนี้คือ เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆที่อยู่ในบทความจะแทรกอยู่ระหว่างคำหรือวลีและเป็นตัวชี้แนะอีกอันหนึ่งที่ช่วยให้ท่านรู้ความหมายของคำศัพท์ที่อยู่ข้างหน้าได้บ้างไม่มากก็น้อย เครื่องหมายวรรคตอนเหล่านี้ได้แก่
comma= , dash= --  colon= : parentheses=( ) quotation marks =“” brackets= [ ] ตัวอย่าง

James looks very happy today and so do Jennifer—they are in love.
เจมสฺ ลุคสฺ เวริ แฮ็ปปี ทูเดยฺ แอนดฺ โซ ดู เจนนิเฟอรฺเดยฺ อารฺ อิน เลิฟวฺ
(เจมส์ดูมีความสุขมากวันนี้และเจนนิเฟอร์ก็เช่นกัน พวกเขาตกหลุมรักกันและกัน) 
ข้อความหลังเครื่องหมาย dash บอกให้รู้ความหมายของประโยคหรือคำศัพท์ที่อยู่ข้างหน้า


4.9 Key words คำสำคัญหรือคำหลักที่อยู่ในประโยคหรือในเนื้อหาสามารถเป็นตัวชี้แนะความหมายคำศัพท์ให้ท่านได้เช่นกัน ท่านสามารถอาศัยความหมายของคำหลักและความเข้าใจประโยคหรือความเข้าใจรวมๆในพารากราฟนั้นๆเดาความหมายของคำที่ท่านไม่เคยเจอมาก่อนได้ เช่น

Accessories add interest to a room. They can accent or highlight an area and give a room beauty and personality.
อัคเซ็สเซอริสฺ  แอ็ด อินเทอเร็สทฺ ทู อะ รูม เดยฺ แคน แอ็คเซนทฺ ออรฺ ไฮไลทฺ แอน แอเรีย แอนดฺ กิฟวฺ อะ รูม บิวทิ แอนดฺ เพเซอแนลเล็อทิ
(ของประดับตกแต่งเพิ่มความน่าสนใจให้ห้อง ให้น้ำหนักหรือจุดเด่นอีกทั้งสร้างความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะให้แก่ห้องได้)
จากข้อความข้างบน ท่านพอจะรู้ความหมายของคำว่า accessories ได้จากคำที่บอกคุณสมบัติของมันซึ่งอยู่ในประโยคที่ตามมา ได้แก่คำว่า accent, highlight, beauty และ personality จากคีย์เวิร์ดดังกล่าวทำให้เรารู้ได้ว่า accessories คือสิ่งประดับตกแต่งที่ทำให้ห้องดูดีขึ้น เป็นต้น
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า


ความคิดเห็น