การใช้สำนวนที่มีโครงสร้าง noun+preposition+noun

เราสามารถนำสำนวนที่มีโครงสร้าง noun+preposition+noun=นาว+เพร็บโพซีชึน+นาว (คำนาม+คำบุพบท+คำนาม) มาใช้ในฐานะที่เป็นกริยาวิเศษหรือขยายกริยาโดยบอกให้รู้ว่าประธานในประโยคกระทำกริยาอย่างไร ดังนั้นประโยคที่มีสำนวนประเภทนี้อยู่มักเน้นให้เห็นถึงการกระทำของประธาน เมื่อได้อ่านหรือได้ฟังประโยคดังกล่าวทำให้เห็นภาพชัดเจนและให้ความรู้สึกมากขึ้น สำนวนที่มีโครงสร้างลักษณะนี้มีอยู่หลายสำนวน ตัวอย่างเช่น


Arm in arm=อารฺม อิน อารฺม (ควงแขนกัน), back to back=แบ็ค ทู แบ็ค (หลังชนกัน), day after day=เดยฺ อาฟวฺเทอะ เดยฺ (วันแล้ววันเล่า), face to face=เฟซ ทู เฟซ (เผชิญหน้ากัน), hour after hour=อาวเออรฺ อาฟวฺเทอะ อาวเออรฺ (ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า), hand in hand=แฮนดฺ อิน แฮนดฺ (จูงมือกัน), top to bottom=ท็อพ ทู บ็อททึม (จากบนลงล่าง) เป็นต้น

ประโยคตัวอย่างการใช้สำนวน noun+preposition+noun
1 Jack and Joy walk hand in hand.
แจ็ค แอน จอย วอลฺค แฮนดฺ อิน แฮนดฺ
(แจ็คกับจอยเดินจูงมือกัน)

2 James and Jane sit back to back.
เจมสฺ แอน เจน ซิท แบ็ค ทู แบ็ค
(เจมส์กับเจนนั่งหันหลังชนกัน)

3 I have never met with him face to face before.
ไอ แฮฟวฺ เนฟเวอ เม็ท วิดฬฺ ฮิม เฟซ ทู เฟซ บีฟอรฺ
(ผมไม่เคยพบเขาซึ่งๆหน้ามาก่อน)

4 Mary has waited for her husband's return day after day.
แมริ แฮซ เว็ททิด ฟอรฺ เฮอรฺ ฮัสเบินดฺส รีเทิรฺน เดยฺ อาฟเทอะ เดยฺ
(แมรี่คอยสามีกลับมาวันแล้ววันเล่า)

ข้อสังเกต การใช้สำนวนที่มีโครงสร้าง noun+preposition+noun ในประโยคตัวอย่างทั้ง 4 ประโยคด้านบน จะไม่มี article a, an, the นำหน้าคำนามที่อยู่ในสำนวนดังกล่าวเลยแม้ว่าคำนามเหล่านั้นจะเป็นคำนามนับได้ก็ตาม



ความคิดเห็น