คำที่สามารถทำหน้าที่เป็นประธานได้ ตอน Mass Noun


คำนามประเภทที่ 4 ที่จะพูดถึงได้แก่ Mass Noun=แมส นาว หรือในภาษาไทยเรียกว่า วัตถุนาม พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ คำนามที่เป็นชื่อของ วัตถุ แร่ธาตุ โลหะ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ซึ่งคำนามจำพวกนี้จัดเป็นคำนามที่นับไม่ได้ เพราะจะไม่แสดงจำนวนที่นับได้แต่จะแสดงความมากน้อยด้วยปริมาณที่เอามานับไม่ได้ ดังนั้นคำนามชนิดนี้จึงไม่มี article=อาร์ทิเคิล หรือคำนำหน้านามนำหน้า

ตัวอย่าง Mass Noun เช่น air=แอรฺ (อากาศ), gold=โกลดฺ (ทอง), mud=มัด (โคลน), oil=ออยลฺ (น้ำมัน), smoke=สโมค (ควัน), soil=ซอยลฺ (ดิน), water=วอเทอะ (น้ำ), wood=วุด (ไม้), rice=ไรสฺ(ข้าว), glass=กลาส (กระจก), ink=อิงคฺ (น้ำหมึก) ฯลฯ


คำนามชนิดที่นับไม่ได้เหล่านี้ในภาษาอังกฤษให้ถือว่าเสมือนเป็น singular noun=ซิงกิวลารฺ นาว หรือ นามเอกพจน์เสมอและต้องเป็นไปตามกฎของภาษาอังกฤษที่ว่าถ้าประธานเป็นเอกพจน์กริยาก็จะต้องมีหรือต้องเติม s,es (ยกเว้น I กับ you) มาดูตัวอย่างการทำหน้าที่เป็นประธานของ noun ต่อไปนี้กันครับ


Water is needed for life.
วอเทอะ อิซ นีดดิด ฟอรฺ ไลฟฺว
(น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต)

Rice is the staple food in many countries.
ไรซฺ อิซ เดอะ สเตเพิล ฟูด อิน แมนนี คันทรีสฺ
ข้าวเป็นอาหารหลักในหลายประเทศ

สองประโยคตัวอย่างข้างบนแสดงให้เห็นถึงการทำหน้าเป็นประธานของ mass noun ประโยคที่หนึ่ง water คือ mass noun ซึ่งเป็นนามนับไม่ได้ เมื่อเป็นนามนับไม่ได้ในภาษาอังกฤษให้ถือเสมือนว่าเป็นเอกพจน์ ดังนั้นคำว่า water จึงเป็นคำนามเอกพจน์พอมาเป็นประธานในประโยค verb=เวิรฺบ หรือกริยาของคำว่า water  จึงต้องมีหรือต้องเติม s, es ตามหลังซึ่งเป็นไปตามหลักหรือกฎภาษาอังกฤษที่กล่าวไว้ด้านบน(ยกเว้นประธาน I กับ you) และกริยาในประโยคดังกล่าวเป็น v. to be ก็เลยต้องใช้คำว่า is ถ้า verb ในประโยคไม่ใช่ v. to be  ก็จำเป็นต้องเติม s, es ไว้หลังคำกริยาด้วย ส่วนประโยคที่สองก็เช่นเดียวกัน

บทความถัดไป
Mass Noun ตอนที่ 2
บทความก่อนหน้า









ความคิดเห็น