Participle คืออะไร

Participle คือกริยารูปแบบหนึ่งซึ่งมักใช้ในภาษาเขียนและเป็นโครงสร้างที่ท้าทายน่าสนใจ อีกทั้งมีประโยชน์มากหากมีความเข้าใจและสามารถเขียนได้ถูกต้องเพราะจะได้มีรูปแบบการเขียนที่หลากหลายท้าทายความสามารถของผู้เขียนเพื่อไม่ต้องจำเจอยู่กับรูปประโยคเดิมๆง่ายๆ อย่างไรก็ตาม Participle เป็นโครงสร้างหรือเป็นส่วนขยายที่มีความซับซ้อน ดังนั้นจึงจำต้องศึกษารายละเอียดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน โดยเริ่มจากการมาเรียนรู้กันก่อนว่า Participle มีรูปแบบอย่างไรบ้างดังต่อไปนี้ครับ

รูปแบบของ Participle (Forms of Participle)
Participle คือรูปแบบหนึ่งของคำกริยาดังที่ได้กล่าวไปแล้ว และสามารถปรากฏในประโยคโดยสามารถทำหน้าที่ได้หลากหลายและรูปแบบก็จะเปลี่ยนไปตามการปรากฏและการทำหน้าที่ในประโยค สำหรับรูปแบบของ Participle ก็คือคำกริยาที่เติมนำมาเติมed ท้ายคำหรือกริยาช่องที่สามนั่นเองเช่น enjoyed, played, smiled ทั้งนี้รวมทั้งกริยาช่องที่สามที่ไม่เติม ed ด้วยคือกริยาที่ไม่ได้ผันด้วยกันเติม ed แต่ผันแตกต่างออกไปดังตัวอย่างเช่น drunk, written, fallen เป็นต้นParticiple แบบนี้เรียกว่า Past Participle ส่วน Participle อีกชนิดหนึ่งก็คือ Present participle ที่เติม ing หลังคำกริยาช่องที่หนึ่งหรือกริยาที่ยังไม่ได้ผัน เช่น studying, drinking, running เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมี Perfect participle (Having + Ved form) คือ รูป Perfect tense ที่กระจายรูปเป็น participle 

การทำหน้าที่ของ Present participle ( V-ing form)สามารถทำหน้าที่เป็นกริยาแท้ในโครงสร้าง v.to be + present  participle (be + ving) เพื่อบอกให้รู้ว่าประธานกำลังกระทำกริยานั้นอยู่หรือการกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่ซึ่งอยู่ใน present continuous tense นั่นเองครับตัวอย่างเช่น

She is now studying Chinese.
ชี อิซ นาว สตัดดิอิง ไชนีส
(ตอนนี้เธอกำลังเรียนภาษาจีนอยู่)

Present participle ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ได้ด้วยและในฐานะที่เป็นคำคุณศัพท์จะวางไว้หน้าคำนาม ตัวอย่างเช่น
This is drinking water.
ดิส อิซ ดริงกิง วอเทอรฺ
(นี่เป็นน้ำดื่ม)

การทำหน้าที่ของ Past participle (V-ed form)  สามารถทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกริยาแท้ได้สองลักษณะ กล่าวคือเป็นส่วนประกอบของ Perfect tense ที่อยู่ในโครงสร้าง  have + past participle (have + verb +ed) เพื่อบอกให้รู้ว่าการกระทำนั้นๆเสร็จสมบูรณ์ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น

Somboon has become rich since his second daughter was born.
สมบูรณ์ แฮซ บีคัม ริช ซินสฺ ฮิซ เซ็คเคินดฺ ดอเทอะ ว็อซ บอน
(สมบูรณ์ร่ำรวยมาตั้งแต่ลูกสาวคนที่สองเขาเกิด)

By the time I got home, my father had already been out.
บาย เดอะ ไทมฺ ไอ ก็อท โฮม ไม ฟาเธอรฺ แฮด ออลเร็ดดี บีน เอาทฺ
(กว่าผมจะถึงบ้าน พ่อก็ออกไปข้างนอกแล้ว)

นอกจากสามารถทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกริยาแท้ ในฐานะส่วนประกอบของ Perfect tense ด้านบนแล้ว Past participle ยังสามารถทำหน้าที่นี้ในฐานะเป็นส่วนประกอบของประโยคกรรมได้อีกด้วย ซึ่งอยู่ในโครงสร้าง verb to be + past participle (be+V-ed) เพื่อแสดงว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ดังตัวอย่างเช่น
The report will be finished next week.
เดอะ รีพอรฺท วิลวฺ บี ฟินิชทฺ เน็กซฺ วีค
(รายงานจะเสร็จสัปดาห์หน้า)

A reception was held in his honour by the organization.
อะ รีเซ็พชึน ว็อซ เฮลดฺ อิน ฮิซ โอนเนอรฺ บาย ดิ ออรฺแกไนเซชึน
(ทางองค์กรจัดงานเลี้ยงต้อนรับขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา)

Past Participle ที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์
นอกจากทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกริยาแท้ได้แล้ว Past participle ยังสามารถทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ได้อีกด้วย กล่าวคือสามารถวางไว้หน้าคำนามและทำหน้าที่ขยายคำนามได้เช่นเดียวกับ Present participle ตัวอย่างเช่น

Tired boys=ไทเอิด บอยสฺ (เด็กผู้ชายต่างก็เหนื่อย (บอกความรู้สึกของเด็ก)
Fallen trees =ฟอลลึน ทรีสฺ (ต้นไม้ล้ม (บอกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว)

บทความที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Participle
การเขียน Participle แทนอนุประโยค (Participle Construction Replacing Clause)
หลักการเปลี่ยนคุณานุประโยคและวิเศษณานุประโยคให้เป็น Participle


บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า

ความคิดเห็น