คำที่สามารถทำหน้าที่เป็นประธานได้ ตอน Noun – Equivalent 1


Noun – Equivalent=นาว-อิควีเวอะลึนทฺ หรือ คำนามสมมูลย์ เป็น noun=นาว (คำนาม) ประเภทที่ 5 ในภาษาอังกฤษ คำ noun ชนิดนี้ถ้าว่ากันตามชนิดของคำแล้วไม่ถือว่าเป็น noun ที่แท้จริง แต่เนื่องจากนำมาใช้เป็นประธานในประโยคได้ จึงให้ถือว่าเสมือนหนึ่งเป็น noun และ noun ชนิดนี้ประกอบด้วยคำสามประเภท ได้แก่ to + verb (to+คำกริยา), verb + ing (คำกริิยาที่อยู่ในรูป ing) และ the + adjective (the+คำคุณศัพท์) สำหรับ noun ที่มาจาก the + adjective จะเป็น plural nouns=พลูรัล นาวซฺ หรือนามพหูพจน์เสมอ วันนี้มาพูดถึงนามสมมูลย์ชนิดที่เป็น to + verb กันก่อนครับ

to+verb เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า infinitive=อินฟีเน็อทิฟวฺ ที่เป็นเสมือนคำนามได้ก็เพราะสามารถทำหน้าที่ได้ทุกอย่างเหมือนที่ noun ทำได้ แต่ในที่นี้จะพูดถึงเรื่องการทำหน้าที่เป็นประธานก่อน ส่วนหน้าที่อื่นๆจะกล่าวถึงในบทต่อๆไป หลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว เจ้า to + verb นี่มีหน้าตาเป็นอย่างไร ก็เหมือนชื่อของเขานั่นแหละครับ พูดง่ายๆก็คือ ให้เอา to ไปวางไว้หน้า verb คำไหนก็ได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นบ้างเป็นสำหรับคำกริยาบางคำที่ใช้ในรูปนี้ไม่ได้

ตัวอย่างการใช้ to + verb ในฐานะเป็นประธานของประโยค ในภาษาอังกฤษ เช่น

To love is to give.
ทู เลิฟวฺ อิซ ทู กิฟวฺ
ความรักคือการให้

To have a chance to go abroad is her dream.
ทู แฮฟวฺ อะ แชนซฺ ทู โก อบรอด อิซ เฮอรฺ ดรีม
การมีโอกาสได้ไปต่างประเทศสักครั้งคือความใฝ่ฝันของเธอ

ประโยคแรกมีประธานคือ To love ที่มาจากการนำ้ To กับ love มารวมกันกลายเป็นคำนามสมมูลย์หรือ infinitive จึงสามารถนำมาใช้เป็นประธานในประโยคได้ จากความหมายเดิมของคำว่า love=เลิฟวฺ แปลว่ารักซึ่งเป็นคำกริยา แต่พอมารวมกันเป็นคำนามอย่างที่กล่าวเป็น To love ก็จะแปลว่าความรัก และกลายเป็นคำนามในที่สุด

ประโยคที่สองมีประธานคือ To have a chance ที่มาจากการนำ้ To กับ have มารวมกันกันกลายเป็นคำนามสมมูลย์หรือ infinitive จึงสามารถนำมาใช้เป็นประธานในประโยคได้ จากความหมายเดิมของคำว่า have=แฮฟวฺ แปลว่ามีซึ่งเป็นคำกริยา แต่พอมารวมกันเป็นคำนามอย่างที่กล่าวเป็น To have ก็จะแปลว่าการมี และเมื่อมี a chance มาเป็นส่วนขยายหรือกรรมก็หมายถึงการมีโอกาส และกลายเป็นคำนามในที่สุด

สรุปแล้ว infinitive คือ to+verb ที่ทำหน้าที่เหมือนคำนามได้และมีความหมายขึ้นต้นว่า การ หรือ ความ นั่นเองครับ

บทความถัดไป








ความคิดเห็น