การใช้ประโยค present continuous tense ในภาษาอังกฤษ


 
 

ประโยค present continuous tense ในภาษาอังกฤษ สามารถนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือกำลังดำเนินอยู่และใช้กับเหตุการณ์สองเหตุการณ์ โดยขณะที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยูก็มีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดแทรกขึ้นมา และสามารถใช้กับเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินควบคู่กันไปก็ได้ ดูประโยคตัวอย่างการใช้ในลักษณะต่างๆดังกล่าวได้ต่อไปนี้ครับ

1 ใช้บอกเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่หรือกำลังดำเนินอยู่ขณะที่ท่านพูด ตัวอย่างเช่น

1.1  Nowadays, a number of the elderly people in Japan are increasing.
นาวอเดยฺส อะ นัมเบอรฺ อ็อฟ ดิ เอลเดอะลี พีเพิล อิน เจแปน อารฺ อินครีซซิง
(ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุในญี่ปุ่นกำลังเพิ่มขึ้น)

1.2  Now I am having the class, so call me again after two hours.
นาว ไอ แอม แฮฟวิง เดอะ คลาส โซ คอล มี อะเกน อาฟเทอะ ทู อาวเออรฺส
(ตอนนี้ผมกำลังเรียนอยู่ โทรหาผมใหม่ในอีกสองชั่วโมงนะครับ)

1.3 Many sea gulls are flying in a circle.
แมนนิ ซี กัลสฺ อารฺ ไฟลอิง อิน อะ เซอเคิล
นกนางนวลหลายตัวกำลังบินฉวัดเฉวียนไปมา
 
2 ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ขณะที่พูด แต่จะเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ตัวอย่างเช่น
2.1  Johan is living with Joey until he finishes the examination.
โจฮัน อิซ ลิฟวิง วิดฬฺ โจอี อันทิล ฮี ฟินิชเชิส ดิ เอ็กแซมมิเนเชิน
(โจฮันอยู่กับโจอี้จนกว่าเขาสอบเสร็จ (อยู่ชั่วคราวพอสอบเสร็จก็ไม่ได้อยู่กับโจอี้อีก)
 
3ใช้ในประโยคที่มีสองเหตุการณ์ โดยขณะที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังเดินอยู่ อีกเหตุการณ์หนึ่งก็แทรกเข้ามา หรือเหตุการณ์ทั้งสองกำลังดำเนินไปพร้อมกันก็ได้ ตัวอย่างเช่น
3.1  As Sam is taking a bath, his girlfriend calls him.
แอ็ส แซม อิซ เทคกิง อะ แบดฬฺ ฮิส เกิรฺลเฟรนดฺ คอล ฮิม
(ขณะที่แซมกำลังอาบน้ำแฟนก็โทรมาหา)
 
3.2  While I am working in Bangkok, my brother is teaching in Phuket.
ไวลฺ ไอ แอม เวิรฺคกิง อิน แบงค็อก ไม บราเธอะ อิซ ทีชชิง อิน ภูเก็ต
(ขณะที่ผมกำลังทำงานอยู่กรุงเทพ น้องชายกำลังสอนหนังสืออยู่ภูเก็ต)
 
ข้อควรจำสำหรับการใช้ ประโยค present continuous tense
1 กริยาบางชนิดไม่นิยมใช้ในรูป present continuous tense กริยาดังกล่าวได้แก่
1.1 กริยาที่เกี่ยวกับการรับรู้หรือความรู้สึก (verbs of perception) เช่น feel=ฟีล (รู้สึก), hear=เฮียรฺ (ได้ยิน), notice=โนทิส (สังเกต), recognize=เร็คค็อกไนซฺ (จำได้), see=ซี (พบ เห็น เข้าใจ), smell=สเมล (ได้กลิ่น), taste=เทสทฺ (ชิมรส รู้รส), observe=อ็อบเซิรฺฟ (สังเกต)
 
1.2 กริยาที่เกี่ยวกับความคิด จิตใจ (verbs of mental activity) เช่น agree=อะกรี (เห็นด้วย ตกลง), appreciate=อะพรีชีเอ็ท (ชื่นชม ยินดี), assume=อะซูม (ทึกทัก คิดไปว่า), believe=บีลีฟวฺ (เชื่อ ศรัทธา), expect=เอ็กซฺเพคทฺ (คาดหวัง), forget=ฟอรฺเก็ท (ลืม), perceive=เพอรฺซีฟวฺ (สังเกต เห็น รู้สึก เข้าใจ), realize=เรียลไลซฺ (รู้แจ้ง เข้าใจ), recall=รีคอล (หวนนึกถึง),
 
1.3 กริยาที่บอกความเป็นเจ้าของ (verbs of possession) เช่น belong to=บีลอง ทู (เป็นของ), owe=โอ (เป็นหนี้), own=โอวฺน (มี เป็นเจ้าของ), possess=โพสเสส (เป็นเจ้าของ)
 
1.4 กริยาอื่นๆที่ไม่นิยมใช้ในรูป present continuous tense เช่น concern=คันเซิรฺน (ห่วงใย), consist=คันซิสทฺ (ประกอบด้วย), contain=ค็อนเทน (บรรจุ), hold=โฮลดฺ (จุ บรรจุ), matter=แม็ทเทอะ (สำคัญ), seem=ซีม (ดูเหมือนว่า), sound=ซาวนฺด (ดูเหมือนว่า) และ verb to be ที่เป็นกริยาแท้ของประโยค เป็นต้น
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า

ความคิดเห็น